top of page
ข่าวเหล็ก : มาตรการรัฐกู้วิกฤติอุตสาหกรรมเหล็กไทย

เขียนเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2563

มาตรการรัฐกู้วิกฤติอุตสาหกรรรมเหล็กไทย

 

  • เป็นเวลากว่า 10 ปี ที่อุตสาหกรรมเหล็กของไทยโดนถล่มตลาดจากเหล็กต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีน ด้วยแผนการ "ทุ่มตลาดเหล็กโลก" ของรัฐบาลจีน โดยการที่รัฐบาลจีนช่วยสนับสนุนเงินแก่โรงงานผลิตเหล็กในจีน ให้สามารถส่งออกเหล็กไปตีตลาดต่างชาติได้ เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่ามาก ๆ

  • รัฐบาลไทยมีมาตรการป้องกันการทุ่มตลาด ทั้ง Anti-Dumping (AD) และ Safeguard (SG) ที่อ่อนแอและดำเนินการเชื่องช้ากว่าประเทศอื่น ๆ (ทั้งอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลี ต่างก็ตั้งกำแพงภาษีมารับมือในเวลาอันรวดเร็ว) ทำให้สินค้าเหล็กจากจีนทะลักเข้าไทยในปริมาณมหาศาล ที่เลวร้ายกว่านั้นคือเมื่อปี พ.ศ.2561 รัฐบาลไทยได้ "ยกเลิกมาตรการป้องกันการทุ่มตลาดจากจีน" ทำให้เหล็กจีนเข้าไทยได้โดยไม่เสียภาษีพิเศษใดใด ส่งผลเสียต่ออุตสาหกรรมเหล็กของไทยอย่างร้ายแรง ซึ่งหลายฝ่ายก็ยังตั้งคำถามถึงเหตุผลในการกระทำนี้ของรัฐบาลไทย

  • รายการล่าสุด ปี พ.ศ.2562 ประเทศไทยมีการบริโภคเหล็กรวม 19.3 ล้านตัน แต่เป็นเหล็ก 'ที่ผลิตเองในไทย' เพียงแค่ 7ล้านตันเท่านั้น (คิดเป็นประมาณ 36.2%ของการบริโภคเหล็กของไทย) .....

..ซึ่งปริมาณการผลิตเหล็กดังกล่าวก็นับเป็นแค่ประมาณ 30% ของกำลังการผลิตสูงสุดที่โรงงานเหล็กไทยสามารถทำได้ !

หรือก็แปลว่าถ้าเราผลิตเอง-ใช้เองในประเทศก็เกินพอ แถมมีเหลือส่งออกพอสมควร
 

  • ทว่าในช่วงเวลาที่มืดมิดของวงการเหล็กไทย เรายังมี 2 ข่าวอัพเดตในช่วงที่ผ่านมา ที่เป็นเสมือนแสงสว่างวิบๆที่ปลายอุโมงค์ครับ

Constructing and worker

 

​1. การประกาศใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดของเหล็กต่างชาติ

  • กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กไทยพยายามเรียกร้องอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ให้รัฐบาลไทยดำเนินการช่วยเหลือวิกฤติเหล็กไทยมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2558 และเพิ่งเริ่มมีความคืบหน้าเมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 ที่ผ่านมา หลังมีการประกาศใช้มาตรการชั่วคราวในการตอบโต้การทุ่มตลาดของเหล็กต่างชาติ ส่งผลให้ภาษีนำเข้าเหล็กเพิ่มขึ้นหลายประเภท โดยเฉพาะเหล็กชุบ Pre-zinc ซึ่งเราต่างทราบกันดีว่าทะลักจากจีนเข้ามาทำลายระบบอุตสาหกรรมเหล็กไทยหลายปี

 

2. ครม.อนุมัติหลักการสนับสนุนการใช้พัสดุภายในประเทศ

  • เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2563 มีมติครม.อนุมัติหลักการ “สนับสนุนการใช้พัสดุภายในประเทศ” ที่ส่งเสริมตามนโยบาย “ไทยแลนด์เฟิร์ส ไทยทำ ไทยใช้ คนไทยต้องได้ก่อน” เนื้อหาคือการกำหนดให้การจัดซื้อจัดจ้างและการก่อสร้างโดยหน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจทั่วไปต้องใช้วัสดุก่อสร้างภายในประเทศ

  • * แต่ทว่าไม่ครอบคลุมโครงการก่อสร้างแบบสัมปทานให้เอกชน (PPP) และโครงการก่อสร้างInfrastructureระดับเมกะโปรเจกของไทย เช่น รถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง ฯลฯ ซึ่งเป็นโครงการที่รัฐบาลให้สัมปทานบริษัทเอกชนจากต่างประเทศเข้ามาครอบครอง

  • โดยหลักการสนับสนุนการใช้วัสดุภายในประเทศ มีข้อกำหนด 2 ข้อ ได้แก่

    • 1) ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อจัดจ้างวัสดุที่ผลิตในประเทศไม่น้อยกว่า 60% ของพัสดุที่จะใช้สำหรับงานก่อสร้างกำหนดให้ใช้เหล็กที่ผลิตในประเทศก่อน โดยต้องไม่น้อยกว่า 90% ของมูลค่าหรือปริมาณเหล็กหรือเหล็กกล้าที่ใช้ในงานก่อสร้างทั้งหมดในครั้งนั้น

    • 2) กรณีการจัดซื้อจัดจ้างที่มีผู้เสนอราคาแข่งขันกันระหว่างไทยกับผู้เสนอราคาต่างชาติ หากนิติบุคคลตามกฎหมายไทยหรือบุคคลถือสัญชาติไทยเสนอราคา “สูงกว่า” ไม่เกิน 3% ให้ซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคาฝ่ายไทยรายนั้น

Constructing and worker

จากข่าวดีทั้ง 2 ข่าวของวงการเหล็กไทย ผมคาดการณ์ว่าอาจช่วยเพิ่มการผลิตเหล็กในประเทศไทยได้บ้าง รวมถึงราคาขายเหล็กรูปพรรณไทยอาจคงตัวต้านทานการบริโภคสินค้าเหล็กที่ตกต่ำในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจเช่นนี้ 

  • ตอนนี้ทางกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กไทยยังคงเดินหน้าเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินนโยบายสนับสนุนการใช้เหล็กที่ผลิตในประเทศ กับโครงการก่อสร้างแบบสัมปทานให้เอกชน (PPP) และโครงการก่อสร้าง Infrastructure ระดับเมกะโปรเจกด้วย แต่ทว่าก็ยังไม่มีท่าทีตอบรับจากทั้งกระทรวงคมนาคมและรัฐบาลไทย

  • อย่างไรก็ดี แม้จะดูเป็นการช่วยเหลือที่ค่อนข้างเล็กน้อยจากทางรัฐบาล แต่ก็เป็นการเริ่มต้นที่ดีหลังเรียกร้องกันมา 5 ปี และเรายังคาดหวังว่าในอนาคตอันใกล้ รัฐบาลไทยจะช่วยเหลือองค์กรธุรกิจในประเทศของตนเองอย่างรวดเร็ว จริงจัง และจริงใจ เพื่อความมั่งคั่งของประเทศชาติอย่างยั่งยืนแท้จริง


อย่างไรก็ตามบทความนี้เป็นการอ้างอิงบทความอื่นร่วมกับการวิเคราะห์ของผู้เขียน ข้อมูลที่เกี่ยวกับการคาดการณ์อนาคตอาจมีความผิดพลาดได้ โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านครับ

สำหรับสินค้าเหล็กและบริการต่างๆ ร้านเหล็กมาบุญยงค์ยินดีให้คำแนะนำ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ Line @maboonyong หรือเบอร์ 02-090-2587 เวลาทำการ 7:30 – 17:00น. และร้านหยุดทุกวันอาทิตย์นะครับ

อนุชาติ พนมโชคไพศาล
ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท มาบุญยงค์กรุ๊ป จำกัด

 

ข้อมูลอ้างอิง​

  • แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ อุตสาหกรรมเหล็กไทย, สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2563. จาก. https://www.naewna.com/business/columnist/45099กระบองเพชร.

  • ธนวัฏ เสือแย้ม/กษมาพร. กลุ่มเหล็กเรียกร้องรัฐบาลออกนโยบายหนุนใช้เหล็กในประเทศกับ 44 โครงการก่อสร้างรัฐ เสริมการจ้างงงาน-ดัน GDP, สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2563. จาก. https://www.ryt9.com/s/iq03/3113167

  • ไม่ระบุ. 4 ส.เหล็กร้องรัฐหนุนใช้ผลิตภัณฑ์ในประเทศ, สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2563. จาก. https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/416752

  • YELLY B. รัฐบาลคุมเข้มเรื่อง เหล็ก จากต่างประเทศเข้าไทย หนุนให้ใช้สินค้าในประเทศ, สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2563. จาก. https://www.builk.com/yello/รัฐคุมเข้มเรื่องเหล็ก/

  • ไม่ระบุ. กลุ่มเหล็กเฮจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐใช้เหล็กในประเทศ, สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2563. จาก. http://iiu.isit.or.th/th/news/Iron%20Industry%20News/Content-4389.aspx

  • ไม่ระบุ. นับหนึ่งแผนไทยแลนด์เฟิรสต์ ไทยสู้จีนหนุนใช้เหล็กในประเทศ, สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2563. จาก. https://www.prachachat.net/economy/news-519103

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง
บทความเหล็ก630527ทัมแนล.jpg

สถานการณ์เหล็ก 27/5/63

เหล็กมาบุญยงค์

สถานการณ์เหล็ก 11/12/62

ไวร์เมช

สถานการณ์เหล็ก 23/10/62

bottom of page