top of page
การวัดขนาดท่อเหล็ก (Pipe)
vs การวัดขนาดแป๊บกลมเหล็ก (Tube)

เขียนเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2563

บทความการวัดขนาดท่อเหล็กและแป๊บกลมเหล็ก

สำหรับคนที่มีเวลาน้อย อ่านตรงนี้ก็เข้าใจครับ

  • ขนาดระบุของท่อเหล็ก (เหล็กPipe) จะเรียกไม่เหมือนกับ ขนาดระบุของแป๊บโปร่งเหล็ก (เหล็กTube)

    • รายการเหล็กPipeจะเรียกขนาดระบุตาม "เส้นผ่านศูนย์กลางวงใน (Inside Diameter)"

    • รายการเหล็กTubeจะเรียกขนาดระบุตาม "เส้นผ่านศูนย์กลางวงนอก (Outside Diameter)"

  • "ขนาดระบุ (Nominal size)" ของเหล็กPipeมักจะถูกอ้างให้เข้าใจง่ายๆว่าเป็น "ขนาดวัดวงใน" แต่ว่าในความเป็นจริงนั้น เส้นผ่านศูนย์กลางวงในของเหล็กPipeที่วัดได้จริงจะใหญ่กว่าขนาดระบุเสมอ

    • เช่น เหล็กPipe ขนาด 2" (50mm) หนา 2.3mm มอก. จะวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางวงในได้ 56.4mm และเส้นผ่านศูนย์กลางวงนอกได้ 61mm

  • เหล็กTube จะมีการเรียกขนาดเหล็กได้ง่ายต่อการเข้าใจกว่า เนื่องจากขนาดระบุจะเท่ากับเส้นผ่านศูนย์กลางวงนอกของเหล็กเลย แต่ปัญหาที่พบมากของเหล็กTubeที่วางขายทั่วไปในท้องตลาดคือ เหล็กTubeธรรมดา(ที่ไม่ได้มาตรฐานมอก.) มักมีหน้าเหล็กเล็กกว่าขนาดระบุเสมอ

    • เช่น เหล็กTubeชนิดสี่เหลี่ยมผืนผ้า 3” x 1 ½” ตามขนาดระบุแบบมอก.จะต้องวัดขนาดได้ 75 x 38mm แต่สำหรับเหล็ก Tubeธรรมดานั้นจะวัดจริงได้ 73 x 34mm เท่านั้น

ร้านเหล็กมาบุญยงค์ จริงใจกับลูกค้าทุกท่าน เราแนะนำและระบุขนาดของเหล็กทุกรายการให้ลูกค้าได้ทราบ ผ่านช่องทางเว็บไซต์ และ catalog ทุกรายการเพื่อให้คุณลูกค้าได้รับสิ่งที่ต้องการและดีที่สุดในการใช้งาน

 

รายการเหล็กท่อในปัจจุบันมีชนิดหลากหลาย เช่น ท่อเหล็กดำ ท่อเหล็กชุบกัลวาไนซ์(ท่อเหล็กประปา) ท่อเหล็กสี่เหลี่ยมจัตุรัส ท่อเหล็กสี่เหลี่ยมผืนผ้า ท่อเหล็กเฟอร์นิเจอร์(ท่อไอเสียเหล็ก) เป็นต้น รายการท่อต่างๆที่ได้กล่าวมานั้น มักเรียก 'ขนาดระบุ (Nominal size)' ของท่อ ไม่เท่ากับ 'ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางวงนอกที่วัดได้จริง (Actual outside diameter)' ซึ่งก่อให้เกิดความสับสนแก่ผู้ใช้งานอย่างมาก

  • เช่น ท่อเหล็กดำขนาด 2" จะวัดวงนอกได้ 2¼" (หรือคือ2.25 นิ้ว แต่ ท่อเหล็กเฟอร์นิเจอร์ขนาด 2" จะวัดวงนอกได้ 2" พอดี

อาจทำให้ผู้ใช้งานเข้าใจผิด ซื้อสินค้าไม่ตรงตามต้องการ ..ต้องเสียเวลา เสียค่าใช้จ่าย เสียค่าปรับในการเปลี่ยนหรือคืนสินค้าเพื่อให้ได้ขนาดของเหล็กที่ต้องการจะใช้จริง ๆ


คำถามที่ว่าทำไมเหล็กท่อเหล็กดำขนาด 2" จึงมีขนาดวงนอกของท่ออยู่ที่ 2¼" ถ้าตอบแบบลวก ๆ คงจะตอบได้ว่า เหล็กท่อเหล็กดำนั้นจะเรียกขนาดระบุตามขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางวงใน หมายความว่าขนาดวงในคือ 2" และ ขนาดของวงนอกคือ 2¼" (61mm)

นอกจากนี้เหล็กรูปพรรณที่ใช้วิธีเรียกขนาดระบุตามขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางวงในของท่อยังมีอีกหลากหลายประเภท ได้แก่ ท่อเหล็กชุบกัลวาไนซ์(ท่อเหล็กประปา), ท่ออุตสาหกรรมสแตนเลสแบบด้าน, ท่อเหล็กสตีมASTM A53

ร้านเหล็กมาบุญยงค์ ขออธิบายแบบสั้น ๆ ว่า "สำหรับท่อเหล็กที่เรียกตามขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางวงในของท่อ จะถูกเรียกว่า เหล็กPipe"

  • โดย เหล็กPipe นั้นมักนิยมใช้งานภายในอุตสาหกรรมหนัก เช่น งานระบบและประปา งานก่อสร้างโครงสร้าง ฯลฯ

บทความการวัดขนาดท่อเหล็ก5.jpg

........................................................................

ส่วนเหล็กรูปพรรณที่ใช้วิธีเรียกขนาดระบุตามขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางวงนอกของท่อ ได้แก่ ท่อเหล็กเฟอร์นิเจอร์(ท่อไอเสียเหล็ก), ท่อเฟอร์นิเจอร์สแตนเลส, ท่อเหล็กเหลี่ยมจัตุรัสและไม้ขีด

ร้านเหล็กมาบุญยงค์ ขออธิบายแบบสั้น ๆ ว่า "สำหรับท่อเหล็กที่เรียกตามขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางวงนอกของท่อ จะถูกเรียกว่า เหล็กTube"

  • โดย เหล็กTube นั้นมักนิยมใช้ในงานเฟอร์นิเจอร์, งานตกแต่ง เช่น งานสำหรับราวบันได ,งานประดับยนต์ ฯลฯ    

บทความการวัดขนาดท่อเหล็ก4.jpg

........................................................................

แน่นอนว่าการเรียกขนาดของ เหล็กPipe นั้นจะเป็นที่ชวนสับสนมากกว่า เหล็กTube เนื่องจากการใช้เครื่องมือที่วัดขนาดท่อเหล็กที่เรียกว่า "เวอร์เนียร์ (Caliper Vernier)" นั้นเหมาะแก่การวัดส่วนวงนอกมากกว่าการวัดส่วนวงในของท่อ ทำให้ลูกค้าหลาย ๆ ท่านของร้านเหล็กมาบุญยงค์ มักเข้าใจว่าการเรียกขนาดระบุของ เหล็กPipe คือการเรียกขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางวงนอกเลย ...ซึ่งผิดครับ !

อีกทั้งแม้เราจะบอกว่า เหล็กPipe นั้นเรียกขนาดระบุตามขนาดเา้รผ่านศูนย์กลางวงใน แต่ว่าเมื่อเราได้ทำการวัดจริง ๆ แล้วขนาดของวงในก็มักจะใหญ่กว่าขนาดที่ระบุเสมอ เช่น ท่อ (Pipe) ดำขนาด 2"(50mm) หนา 2.3mm จะวัดวงในอยู่ที่ 56.4mm

เลยยิ่งสร้างความสับสนให้แก่ลูกค้าหลาย ๆ ท่านเข้าไปอีก ....


สาเหตุที่เส้นผ่านศูนย์กลางวงในของ เหล็กPipe มีขนาดใหญ่กว่าขนาดระบุ เนื่องมาจากการเรียกขนาดระบุจะเรียกตามขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางวงในของ เหล็กPipe ที่มีความหนาสูงสุดของขนาดท่อนั้นๆ

  • ยกตัวอย่างเช่น ท่อเหล็กPipe 2" มีความหนาสูงสุดอยู่ที่ 5.5mm จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางวงในเท่ากับ 50mm และมีเส้นผ่านศูนย์กลางวงนอกเท่ากับ 61mm (คิดจากวงในบวกความหนาของท่อ) ซึ่งระยะวงนอก 61mm นี้จะเป็นขนาดวงนอกของท่อเหล็กPipe 2" ในทุกความหนาเลย

  • นั้นหมายความว่า ท่อเหล็กPipe 2" ทุกความหนาจะต้องมีขนาดวงนอกเท่ากันที่ 61mm ส่วนขนาดวงในนั้นจะวัดได้เท่าไหร่ก็ขึ้นอยู่กับความหนานั้น ๆ .. ยิ่งมีความหนาน้อย วงในก็จะยิ่งกว้าง เช่น ถ้าเป็นท่อเหล็กpipe 2" หนาแค่ 2.3mm จะวัดวงในได้ถึง 56.4mm

บทความการวัดขนาดท่อเหล็ก6.jpg
บทความการวัดขนาดท่อเหล็ก7.jpg

........................................................................

สำหรับ เหล็กTube นั้น เราสามารถทำความเข้าใจเรื่องของขนาดได้ง่ายกว่า เหล็กPipe เพราะ เหล็กTube จะเรียกขนาดตามวงนอกจริงของท่อขนาดนั้น ๆ เลย หากแต่ว่าถ้าเป็นเหล็กที่ไม่มีมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) ขนาดหน้าตัดของ เหล็กTube นั้นจะน้อยกว่าขนาดระบุตามสเปคมาตรฐานพอสมควร

  • เช่น เหล็กTube กล่องไม้ขีด ขนาดระบุ 3" x 1 ½" ควรจะมีขนาดหน้าตัดที่ 75mm x 38mm หากเป็นเหล็กไม่มีมอก. จะวัดขนาดหน้าตัดได้จริง ๆ เพียง 73 x 34mm

ทั้งนี้ปัญหายังไม่จบที่ว่าหน้ากว้างของเหล็กไม่มีมอก. ทีไม่เต็มสเปคเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงปัญหาเรื่องความหนาของเหล็กด้วย เช่น หากว่าสั่งซื้อด้วยความหนาที่ระบุว่า 2mm ความหนาจริงๆจะวัดได้เพียงราว 1.6-1.7mm และหากนำเหล็กแบบไม่มีมอก.นี้ไปรับน้ำหนักของโครงสร้างต่าง ๆ อาจจะส่งผลเสียต่อความแข็งแรงของโครงสร้างนั้นด้วย

บทความการวัดขนาดท่อเหล็ก8.jpg

 

ร้านเหล็กมาบุญยงค์ ยินดีให้คำแนะนำเกี่ยวกับสินค้าแก่ลูกค้าทุกท่านอย่างเที่ยงตรง เพื่อช่วยลูกค้าประหยัดเงิน ประหยัดเวลา สามารถสั่งซื้อสินค้าได้ตรงกับความต้องการ หากคุณลูกค้ามีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับสเปค ขนาด การใช้งาน สินค้าประเภทเหล็กรูปพรรณ เหล็กPipe เหล็กTube หรือสินค้าอื่นๆ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ Line @maboonyong หรือเบอร์ 02-090-2587 เวลาทำการ 7:30 – 17:00น. และร้านหยุดทุกวันอาทิตย์นะครับ


 

นที พนมโชคไพศาล

(รองประธาน บริษัท มาบุญยงค์กรุ๊ป จำกัด)

...........................................................................................

บทความอื่น, สินค้าที่เกี่ยวข้อง
เหล็กท่อดำ3

ท่อเหล็กดำ

เหล็กท่อไอเสีย3

เหล็กท่อไอเสีย

เหล็กกล่องจัตุรัส7

เหล็กกล่อง

bottom of page