top of page
'โรงเล็ก' 'โรงใหญ่'
SR24, SD30, SD40, SD50
ของเหล็กเส้น ข้ออ้อยก่อสร้าง คืออะไร ?

เหล็กก่อสร้าง (Rebar, Reinforcing bar) ได้แก่ เหล็กเส้น เหล็กข้ออ้อย

  • เหล็กก่อสร้างโรงเล็ก (เหล็กเบา เหล็กไม่เต็ม) คือเหล็กที่น้ำหนักน้อยกว่ามาตรฐานอุตสาหกรรม ผิดกฎหมาย! ถ้านำไปใช้อาจเป็นอันตรายต่อทรัพย์สินและชีวิต ... “ร้านเหล็กมาบุญยงค์” ไม่จำหน่าย

  • เหล็กก่อสร้างโรงใหญ่ (เหล็กเต็ม) คือเหล็กที่น้ำหนักตรงตามมาตรฐานอุตสาหกรรม มีเอกสารมอก.รับรอง มีตีตรากำกับข้างเส้นเหล็ก คุณภาพสูง นำไปใช้งานได้ ซึ่งแบ่งได้หลายสเปคได้แก่ SR24, SD30, SD40, SD50

 

วิธีตรวจสอบว่าเป็นเหล็กเต็มหรือไม่

  1. ตาดูมือสัมผัส เหล็กเต็มจะขนาดสม่ำเสมอ ไม่หยิกหยอยไม่ขึ้นสนิม มักจะตีตรายี่ห้อเป็นอักษรนูนอยู่ข้างเหล็ก

  2. มีเอกสารรับรอง ใบCertificate ใบมอก. ระบุยี่ห้อ ที่มา และโรงงานผลิตที่น่าเชื่อถือ

  3. ชั่งน้ำหนักเหล็กทั้งเส้นว่าตรงตามมาตรฐานหรือไม่ โดยดูสเปคน้ำหนักเหล็กก่อสร้าง ที่นี่

  • ตัวอักษรแสดงสเปคของเหล็กก่อสร้างโรงใหญ่ ได้แก่ SR24 และ SD30-50 สื่อถึงความสามารถของเหล็กในการรับ “แรงดึง” โดยยังไม่ถึง “จุดคราก” (เหล็กถูกดึงจนเสียสภาพ) ซึ่งประเด็นเรื่องสเปค ผมจะขออธิบายเชิงวิชาการโดยคร่าวดังนี้

...........................................................................................

เหล็กเส้น

ลูกค้า “ร้านเหล็กมาบุญยงค์” หลายๆท่าน มักมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสเปคโรงใหญ่ของ ‘เหล็กเส้นก่อสร้าง’ และ ‘เหล็กข้ออ้อยก่อสร้าง’ ว่ามีอะไรบ้าง แล้วแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งมาตรฐานทั่วไปประกอบด้วย

  1. เหล็กเส้น SR24 ชื่อเต็มคือ Standard round bar steel 2400 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร (Kilogram per Square Centimeters หรือ KSC)

  2. เหล็กข้ออ้อย SD30, SD40, SD50 หรือชื่อเต็มคือ Standard Deformed bar steel 3000 ,4000 และ 5000 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร (Kilogram per Square Centimeters หรือ KSC) ตามลำดับ

ผมขออธิบายการทดสอบมาตรฐานผ่านภาพประกอบง่ายๆ โดยยกตัวอย่างการทดสอบของเหล็กเส้นกลมมาตรฐาน สเปค SR24

บทความSRSDภาพ1.jpg

ภาพที่1: อธิบายขั้นพื้นฐานเบื้องต้นก่อนครับว่าหน้าที่หลักของเหล็กก่อสร้างเส้นและข้ออ้อย คือ การรับแรงดึง (ตรงข้ามกับคอนกรีตที่รับแรงอัด) ฉะนั้น การทดสอบเหล็กตามหลักสากล คือการดึงเหล็กเป็นหลัก ซึ่งจะค่อยๆเพิ่มกำลังของแรงดึงทั้ง 2 ฝั่งไปเรื่อยอย่างช้า ๆ

บทความSRSDภาพ2.jpg

ภาพที่2: คุณสมบัติที่น่าสนใจอย่างหนึ่งของเหล็กคือ เมื่อมีการออกแรงดึงน้อยๆ เหล็กจะออกแรงต้านอย่างพอดีกับแรงดึง หากว่ามีการปลดปล่อยแรงดึงนั้น เหล็กจะทำการการหดตัวลง จากนั้นจึงยืดตัวออกเป็นลักษณะของสปริง ในทางเทคนิคจะเรียกสภาวะนี้ว่า สภาวะสปริง

บทความSRSDภาพ3.jpg

ภาพที่3: ทั้งนี้ หากว่ามีการดึงเหล็กเส้นต่อเนื่องเรื่อยๆ จนเหล็กเส้นได้รับแรงดึงตามที่มาตรฐานกำหนด คือ 2400 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร (KSC) เหล็กจะมีสภาวะล้า นั้นคือหากมีการออกแรงดึงมากกว่า 2400 KSC เหล็กจะไม่ออกแรงต้านกลับ ณ จุดนี้ในทางเทคนิคเรียกว่า จุดคราก

บทความSRSDภาพ4.jpg

ภาพที่4: สำหรับการออกแรงดึงที่มากกว่าจุดครากของเหล็กนั้นจะยังไม่ขาดออกจากกันโดยทันที สามารถออกแรงดึงเพิ่มขึ้นได้อยู่ ทว่าเหล็กเส้นจะมีแรงต้านเหลืออยู่ไม่มากหรือไม่มีแรงต้านเหลืออยู่อีกเลย หากปลดปล่อยแรงดึงเหล็กไม่สามารถหดกลับมาเป็นรูปแบบเดิมได้ สภาวะนี้ทางเทคนิคเรียกว่า สภาวะพลาสติก เหล็กเส้นที่อยู่ในสภาวะนี้เป็นอันตรายต่อโครงสร้างอาคารเป็นอย่างมาก

บทความSRSDภาพ5.jpg

ภาพที่5: สุดท้ายเมื่อแรงดึงมีกำลัง 3900 KSC (ประมาณ 95% ของการทดสอบเหล็กเส้น SR24) เหล็กเส้นจะมีสภาวะขาดออกจากกันในที่สุด และไม่สามารถใช้งานได้อีก นอกจากการนำเศษเหล็กนี้ไปหลอมขึ้นรูปใหม่ ณ จุดแรงดึง 3900 KSC นี้ทางเทคนิคเรียกว่า จุดประลัย

“ร้านเหล็กมาบุญยงค์” ปรารถนาให้ลูกค้าทุกท่านมีความสุขกับบ้านพักอาศัย ให้ปลอดภัย หายห่วงและไร้กังวล โครงสร้างของบ้านพักอาศัยจึงจัดว่าสำคัญที่สุด หากว่าเหล็กก่อสร้างมีมาตรฐานที่ไม่แน่นอนย่อมมีผลกระทบไม่ใช่แค่กับตัวเหล็กเส้นเอง แต่ผลกระทบจะเกิดกับบริเวณของคอนกรีตที่มีหน้าที่ในการรับแรงอัดด้วย ทำให้ก่อการฟ้องร้องหรือเรียกร้องค่าเสียหายต่อผู้รับเหมาที่ไม่ทราบว่าแท้จริงแล้วนั้น เหตุเกิดจากวัสดุก่อสร้างที่ไม่ได้คุณภาพ

เพราะงานก่อสร้างบ้านเป็นงานที่ต้องอาศัยความประณีต อดทน ซื่อตรง และจริงใจจากร้านค้าวัสดุก่อสร้างเป็นอย่างมาก ประสบการณ์กว่า 30ปีของ “ร้านเหล็กมาบุญยงค์” ทำให้เราเข้าใจความต้องการของลูกค้าทุกท่านเป็นอย่างดี และยินดีนำเสนอเฉพาะเหล็กที่มีคุณภาพเพื่อคุณลูกค้าครับ

 

หากคุณลูกค้ามีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับสเปค ขนาด การใช้งาน สินค้าประเภทแผ่นโลหะหรือสินค้าอื่นๆ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ Line @maboonyong หรือเบอร์ 02-090-2587 ‘ร้านเหล็กมาบุญยงค์’ ยินดีให้คำแนะนำข้อมูลครับ

นที พนมโชคไพศาล

(รองประธาน บริษัท มาบุญยงค์กรุ๊ป จำกัด)

...........................................................................................

บทความอื่น, สินค้าที่เกี่ยวข้อง
เหล็กเส้น

เหล็กเส้นก่อสร้าง

เหล็กข้ออ้อย

เหล็กข้ออ้อยก่อสร้าง

ไวร์เมช

ไวร์เมช

bottom of page